มือใหม่หัดขับ

มือใหม่ หัดขับ ต้องรู้เรื่องเหล่านี้ !!!

ทุกอย่างต้องมีการฝึกฝน การขับรถก็เช่นกัน ไม่มีใคร ที่ไม่เคยผ่านการเป็นมือใหม่ ในการขับรถมาแน่ๆครับ
สำหรับรถที่เป็นเกียร์อัตโนมัติ คงหัดไม่ยากเท่าไหร่ แต่สำหรับเกียร์ธรรมดา นี่ คนที่เคยผ่านการหัดขับมาแล้วจะเข้าใจว่า การขับรถเกียร์ธรรมดาไม่ได้ง่ายเลย บางคนล้มเลิกการขับรถไปเลยล่ะครับ วันนี้ หลอดไฟซีนอล จะมาบอกเคล็ดลับให้มือใหม่ ที่กำลังจะหัดขับรถกันนะครับgear-knob-1067070_1920.jpg
7 เคล็ดลับมือใหม่หัดขับรถ
1. สติกเกอร์มือใหม่หัดขับ ต้องติดที่รถด้วยไหม?
มือใหม่หัดขับรถอาจคิดว่าเรื่องที่สำคัญมาก แต่อันที่จริงแล้วเรื่องการติดสติกเกอร์มือใหม่หัดขับขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตั๊วส่วนตัวเลยครับ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่ติดเพื่อบอกให้ผู้ขับขี่รับรู้ว่า เราคือมือใหม่หัดขับจริง ๆ
2. เรียนรู้กฎหมายจราจรทางบก และเครื่องหมายการจราจรที่สำคัญ
นอกจากไม่ประมาท มีสติตลอดเวลา คุณจะต้องรู้จักกฎหมายจราจรทางบกและเครื่องหมายที่พบบ่อยครั้ง
3. อย่าขับรถจี้ท้ายคันหน้า
มือใหม่หัดขับรถอาจคิดว่าเรื่องที่สำคัญมาก การเว้นระยะห่างเผื่อการเบรกของรถที่อยู่ข้างหน้าสามารถลดการเกิดอุบัติเหตุการชนท้ายรถได้เป็นอย่างมาก เพราะการจี้ท้ายคันหน้าอาจทำให้คุณกลายเป็นผู้ผิดได้ เนื่องจากกฎหมายได้ระบุการระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยเอาไว้แล้ว
6. สภาพอากาศไม่เป็นใจ อย่าขับ
กขับมือใหม่ไม่ควรลองขับรถในขณะเกิดพายุ หรือฝนตกลมแรง เนื่องจากน้ำฝนที่ร่วงหล่นจากฟ้าจะทำให้ถนนที่ลื่นกว่าเดิมจะทำให้การบังคับรถเป็นไปยากลำบากมากขึ้นโดยเฉพาะคุณยังขับไม่เชี่ยวชาญ หากฝนตกหนักกลางคัน หากมองไม่เห็นถนนขณะที่ขับขี่จริง ๆ เมื่อมองไม่เห็นทางด้านหน้าแล้ว ควรมองหาพื้นที่จอดข้างทางก่อน แต่ถ้าไม่มีที่จอดจริง ๆ เช่น ขับอยู่บนทางด่วน หรือสะพาน เลี่ยงไม่ได้แนะนำให้ขับช้า ๆ เปิดไฟหน้า วิ่งเลนซ้ายเอาไว้ดีที่สุด
5. ฝึกการขับถอยหลัง
หากถามว่า ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องสำคัญ? สำหรับนักขับรถผู้หญิงหลายคนแม้ว่าจะขับได้คล่องพอตัว แนะนำให้ มีสติทุกครั้งที่รถยนต์สตาร์ทอยู่ เมื่อถึงเวลาถอย เข้าซอง ควรเปิดสัญญาณไฟขอทาง ก่อนเริ่มหักวงเลี้ยวอย่างช้า ๆ มองกระจกหลัง และกระจกข้างพร้อมกับบังคับทิศทางให้ดี จำไว้ว่า อย่า ใจ ร้อน”
6. เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
ปัจจุบันมีโรงเรียนสอนขับรถมากมายที่เปิดให้บริการเหล่ามือใหม่หัดขับที่พร้อมบริการทำใบขับขี่ด้วยเลย กรณีไม่สะดวกไม่อยากจ่ายเงินเยอะๆ คุณสามารถเรียนรู้กับคนในครอบครัว เช่น พ่อ, แม่, เพื่อน, ญาติ, แฟน หรือคนรู้จักได้ทั้งนั้น
 7. อย่าลืมเปิดไฟเลี้ยว!!

การเปิดไฟเลี้ยวก็ควรเริ่มเปิดอย่างน้อย ๆ 100 เมตรก่อนเลี้ยวเข้าซอยเพื่อเป็นการเตือนรถข้างหลังไว้

 

หัดขับรถ เกียร์อัตโนมัติ หรือ เกียร์ออโต้นั่นเอง
1. อันดับแรกทำความเข้าใจกับตำแหน่งของเกียร์ก่อน P คือ จอด N คือเกียร์ว่าง R คือถอยหลัง  D คือเดินหน้า  D2 หรือ L คือเกียร์ต่ำ(แล้วแต่รุ่นรถนะครับ บางรุ่นก็มีแค่ P,R,N,D)
2. การสตาร์ท ตำแหน่งเกียร์ควรอยู่ที่ P ใช้เท้าขวาเหยียบเบรคไว้ แล้วก็บิดกุญแจสตาร์ท หรือกดปุ่ม Push Start
3. การขับเดินหน้า ขณะที่เท้ายังคงเหยียบเบรค ให้เลื่อนตำแหน่งเกียร์มาเป็นตำแหน่ง D หรือ D4 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเท้าออกจากเบรค ซึ่งตอนนี้รถจะแล่นไปได้เองอย่างช้าๆ แล้วเราจึงค่อยๆเปลี่ยนไป เหยียบคันเร่งเพื่อให้ได้ตามความเร็วที่เราต้องการ
4. การขับขึ้นลง ทางลาดชัน ผ่อนความเร็วรถแล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง L แล้วก็เหยียบคันเร่งไปตามความต้องการ
5. การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ L มาเป็น D ผ่อนความเร็ว แล้วเลื่อน มาที่ตำแหน่ง D แล้วขับไปตามปกติ
ภาพจาก http://รักษ์รถ.com
6. การจอดรถ ค่อยๆ ผ่อน ความเร็วรถเมื่อรถจอดสนิทก็เลื่อนตำแหน่งมาที่ P ใส่เบรคมือ ดับเครื่อง
7. การจอดรถในลักษณะกีดขวางคันอื่น หรือการจอดแบบปลดเกียร์ว่าง เมื่อจอดปกติตามข้อ 3 แล้ว แต่ไม่ต้องดึงเบรคมือขึ้นก็กดปุ่มเล็กๆ แล้วเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปที่ N
8. การจอดกรณีติดไฟแดง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง N
9. การถอยหลัง เหยียบเบรคค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R ค่อยๆ ผ่อนเบรคเพราะรถจะถอยได้เอง แต่ถ้าต้องการให้ถอยเร็วหรือกรณีถอยขึ้นที่สูงก็อาจต้องเหยียบคันเร่งเพิ่มความเร็วได้แต่ค่อยๆเหยียบนะ
หัดขับรถ เกียร์ธรรมดา
ก่อนอื่นก็คาดเข็มขัดกันก่อนนะครับ
1. เกียร์ธรรมดาจะมี คลัทช์ เพิ่มขึ้นมาจากรถเกียร์ออร์โต้อยู่ซ้ายสุด ต่อมาอันกลาง คือเบรก และคันเร่งจะอยู่ด้านขวามือสุด
2. เรียนรู้เรื่อง คลัทช์ ว่ามันทำหน้าที่ปลดกำลังเครื่องยนต์ที่กำลังหมุนจากล้อรถยนต์ที่หมุนอยู่ เพื่อยอมให้คุณเปลี่ยนเกียร์ โดยไม่ทำให้เกิดการเสียดสีของฟันเกียร์ก่อนที่คุณจะเปลี่ยนเกียร์ (เปลี่ยนขึ้น หรือลง) คลัทช์ต้องถูกกดจนสุดพื้นรถ จะเปลี่ยนขึ้นหรือลงให้ดูรอบรถดีๆนะครับ
3. การจะสตาร์ทรถ ต้องเช็คเกียร์ดูก่อนว่า อยู่ที่เกียร์ว่างหรือเปล่า โดยลองโยกหัวเกียร์ดูว่า สามารถโยกไปซ้ายหรือขวาได้ ซึ่งคุณจะไม่รู้สึกสะดุดเมื่อโยกหัวเกียร์จากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งแล้วจึงค่อยสตาร์ทเครื่องยนต์
4. ปรับเบาะให้พอดีโดยให้เราเหยียบคลัทช์ได้จนสุด จากนั้นเหยียบแป้นคลัทช์ให้ติดพื้นรถและค้างไว้ เข้าเกียร์ 1แล้วค่อยๆ ใช้เท้าปล่อยแป้นคลัทช์อย่างช้าๆ พอรถเริ่มออกตัวก็ให้เริ่มเหยียบคันเร่ง และฟังเสียงรอบเครื่อง หรือดูรอบเครื่องจากหน้าปัด แล้วเปลี่ยนเกียร์ 2 ,3 ตามลำดับ ซึ่งการเปลี่ยนเกียร์จะใช้วิธีเดียวกันนี้ทุกครั้ง
5.ซึ่งก่อนการออกตัว หลายๆคนที่ไม่เคยขับรถเกียร์ธรรมดามาก่อนเลยให้ทดลองยกเท้าของคุณออกจากแป้นคลัทช์ช้าๆ จนกระทั่งคุณได้ยินเสียงความเร็วเครื่องตกลง. จากนั้นให้ลองกดแป้นคลัทช์ซ้ำอีกครั้ง ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนกระทั่งคุณสามารถจดจำเสียงนี้ได้ นี่คือจุดที่คลัทช์กดตัวลงบนล้อตุนกำลัง หรือเรียกว่าจุด Friction Point
ภาพจาก http://news.unseencar.com
6.การทำให้รถออกตัว ให้ยกเท้าของคุณจากแป้นคลัทช์ จนกระทั่งรอบเครื่องตกลงเล็กน้อย และเหยียบแป้นคันเร่งเบาๆ พยายามสร้างสมดุลระหว่างการเหยียบแป้นคันเร่งเบาๆ ในขณะที่ปล่อยแป้นคลัทช์ช้าๆ คุณอาจจะลองดูหลายๆ ครั้งเพื่อหาจังหวะเหยียบแป้นคันเร่ง และปล่อยแป้นคลัทช์ที่สัมพันธ์กัน อีกวิธี คือปล่อยคลัทช์จนกระทั่งถึงจังหวะที่กำลังของเครื่องยนต์ตกลงเล็กน้อย แล้วค่อยเหยียบแป้นคันเร่งเมื่อคลัทช์จับตัว ในตอนนี้รถจะเริ่มเคลื่อนที่ โดยวิธีที่ช่วยป้องกันไม่ให้รถดับได้ดีที่สุด คือการเร่งเครื่องยนต์ เมื่อปล่อยคลัทช์ กระบวนการนี้อาจยุ่งยากสักหน่อย เนื่องจากคุณพึ่งเรียนรู้การใช้รถเกียร์ธรรมดา ที่มี 3 แป้นเหยียบ ดังนั้นคุณควรเตรียมพร้อมที่จะดึงเบรกมือในกรณีฉุกเฉิน จนกระทั่งคุณมีความชำนาญในการขับขี่มากขึ้น
7.ในระหว่างการขับขี่รถยนต์. เมื่อรอบเครื่องของคุณถึง 2,500 – 3,000 รอบต่อนาที คุณควรเปลี่ยนเป็นเกียร์ 2 จำไว้ว่ามันมันจะขึ้นอยู่กับประเภทรถที่คุณขับขี่ว่าเครื่องวัดความเร็วรอบถูกตั้งให้เปลี่ยนเกียร์ที่ความเร็วรอบเท่าไหร่ เมื่อเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้น เครื่องยนต์ของรถจะเริ่มเร็วขึ้น และคุณควรจดจำเสียงนี้ให้ได้ ให้เหยียบแป้นคลัทช์ และโยกหัวเกียร์จากเกียร์ 1 มาเกียร์ 2,3,4,5 ตามลำดับ
8.หากคุณปล่อยคลัทช์เร็วเกินไป รถจะกระตุก และดับ หากเครื่องยนต์มีเสียงคล้ายจะดับ ให้เหยียบคลัทช์ค้างไว้ หรือกดคลัทช์ให้ลึกขึ้นอีกเล็กน้อย ความเร็วเครื่องยนต์ที่มากเกินไป ในขณะที่ไม่ได้เหยียบคลัทช์จนสุด จะทำให้ชิ้นส่วนของคลัทช์สึกหรอก่อนเวลาอันควร ส่งผลให้เกิดการลื่นไถล หรือทำให้ชิ้นส่วนคลัทช์ที่ระบบส่งกำลังไหม้

 

car-2368464_1920.jpg

ข้อมูลจาก : th.wikihow.com/ขับรถเกียร์ธรรมดา