Easy Pass คืออะไร, วิธีเติมเงิน Easy Pass, ฟิล์มไม่ผ่าน Easy Pass เพราะอะไรได้บ้าง

อยากติดตั้ง Easy Pass ต้องทำยังไง?  ทำไมต้องเลือกฟิล์มกรองแสงสำหรับติดตั้งโดยเฉพาะ?

หลายๆคนคงได้เคยขึ้นทางด่วนกันมาบ้าง คงเห็นช่องผ่านทางช่องนึงที่ขับรถยนต์ผ่านได้แบบชิลๆ โดยไม่ต้องต่อเเถวจ่ายค่าผ่านทางกันใช่ไหมครับ ช่องทางนั้นเรียกว่าว่า Easy Pass  ครับ  เเต่เคยเห็นบางคันที่ขับไปในช่องทางนั้นเเล้วต้องเดินหน้าถอยหลังอยู่สักพักถึงจะผ่าน Easy Pass ไหมครับ เดี๋ยววันนี้ทาง thaiautofilm จะมาบอกว่ามันเกิดจากอะไรกันครับ

Easy Pass คืออะไร

Easy pass คือ บัตรผ่านทางด่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เก็บค่าผ่านทางเเบบอัตโนมัติ(Electronic Toll Collection System: ETC)  เป็นการเติมเงินเข้าระบบเชื่อมกับอุปกรณ์ที่ติดตรงหน้ารถยนต์เผื่อที่เวลาขับผ่านช่อง Easy pass  จะได้สแกนเก็บค่าผ่านทางได้อย่างรวดเร็ว ลดการติดขัดของจราจรครับ

ประโยชน์ของ Easy pass

แน่นอนว่าการที่มีเทคโนโลยีจ่ายค่าผ่านทางด้วยระบบอัตโนมัติย่อมมีประโยชน์มากมายเลยละครับ เช่น

  • ลดระยะเวลาในการที่คนขับไม่ต้องมานั่งนับเงินจ่ายเเละรอรับเงินทอน
  • ลดปัญหาจราจรติดขัดได้ ไม่ต้องต่อคิวยาวเพื่อรอจ่ายเงินสามารถขับผ่านได้เลย
  • ประหยัดเวลาการเดินทางเเละช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 15%(จากการวิจัยในปี2017)
  • ไม่ต้องพกเงินสดขึ้นทางด่วน ตอบโจทย์พฤติกรรมสมัครใหม่ที่คนหันมาโอนเงินผ่านเเอปกันมากขึ้น
  • ในยุคโรคระบาดต่างๆ ไม่ต้อง หยิบจับส่งต่ออะไรกับพนักงานบนทางด่วน ลดความเสี่ยงไปในตัว
  • สามารถใช้ได้หลากหลายเส้นทาง สามารถวางแผนการเดินทางได้แบบชิลๆ

Easy pass plus+ คืออะไร

 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ได้มีการอัปเดตตัวระบบของ Easy Passไปเป็น  Easy pass plus+ โดยเวลาขับเข้าช่อง  Easy Pass จะไม่มีไม้กั้นทำให้วิ่งผ่านได้อย่างง่ายๆ ด้วยระบบ M-flow เพื่อเตรียมรองรับการใช้งานให้ทั่วถึงทุกเส้นทาง

วิธีใช้งาน Easy pass

   โดยการใช้งานจะแบ่งเป็น 2ส่วนด้วยกัน คือ

1. บัตร smart card

เป็นบัตรที่มีเลข Serial Number 10หลัก สามารถนำเลขนี้ไปเติมค่าผ่านทางเข้าระบบได้

2. บัตร Easy pass (OBU หรือ tag )

เป็นบัตรติดกีะจกหน้ารถยนต์ ใช้สำหรับส่งสัญญาณกับช่องผ่านทางเพื่ออ่านค่าเเละตัดยอดเงินได้

ทางด่วนไหนบ้างที่ใช้ Easy Pass ได้?

ทางด่วนที่สามารถใช้ระบบของ Easy Pass ได้นั้น คือ

  • ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (ช่วงกรุงเทพฯ-ชลบุรี)
  • ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ช่วงบางปะอิน – บางพลี)
  • ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยทุกสายทางดังนี้
  • ทางพิเศษเฉลิมมหานคร  – ทางพิเศษฉลองรัช
  • ทางพิเศษศรีรัช – ทางพิเศษบูรพาวิถี
  • ทางพิเศษอุดรรัถยา
  • ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
  • ทางพิเศษศรีรัช – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร

วิธีสมัคร Easy Pass

การสมัคร Easy pass นั้นง่ายมากเพียงเตรียมเอกสารดังนี้

สำหรับบุคคลธรรมดา

  • บัตรประชาชน (ตัวจริงหรือสำเนา)

สำหรับนิติบุคคล

  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท อายุไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ชุด (พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ 1 ท่าน)
  • สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) จำนวน 1 ชุด (พร้อมประทับตราบริษัทและรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ 1 ท่าน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ 1 ท่าน จำนวน 1 ชุด (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  •  

โดยสามารถไปที่ ศูนย์บริการ Easy pass หรือสามารถสมัครผ่านทางออนไลน์ได้ดังนี้

  • ศูนย์บริการ One Stop Service Center

ที่ตั้ง : ชั้น 1 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

เวลาทำการ : วันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 8.30 – 15.30 น.

  • Easy Pass Fast Service

ที่ตั้ง : จุดพักรถ ปั๊ม ปตท. บางนา (ขาออก)

เวลาทำการ : วันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) 9.30 – 15.30 น.

  • อาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง

ที่ตั้ง : ได้ทุกด่านในทางพิเศษเหล่านี้ ได้แก่

– ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

– ทางพิเศษศรีรัช

– ทางพิเศษฉลองรัช

– ทางพิเศษบูรพาวิถี

– ทางพิเศษบางพลี-สุชสวัสดิ์ (ยกเว้นด่านบางครุ 3 และ เทพารักษ์)

เวลาทำการ : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 5.00 – 22.00 น.

สมัครผ่านออนไลน์ ได้ที่แอพพลิเคชั่น True Money Wallet

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.truemoney.com/easypass/

วิธีเติมเงิน Easy Pass

โดยการเติมเงิน Easy pass นั้นง่ายแสนง่าย สามารถเติมได้ผ่าน เเอปธนาคารทุกชนิด , 7-11 , Lotus , Big C  เป็นต้น  โดยจะมีการคิดค่าธรรมเนียม นิดหน่อย สำหรับการบริการนี้ครับ

วิธีตรวจสอบยอดเงิน

            หากใครจำไม่ได้ว่าเงินในบัตร Easy pass เหลืออยูกี่บาท สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆผ่าน4ช่องทาง คือ

  1. www.thaieasypass.com
  2. แอปพลิเคชั่น EXAT Portal
  3. EXAT Call Center โทร 1543
  4. ติดต่อสอบถามได้ที่ อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษทุกสายทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ปัญหาของ Easy pass

1.แบตเตอรี่ของบัตร Easy pass หมดอายุ

  ต้องบอกก่อนว่า บัตร Easy pass นั้นเป็นบัตร อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะมีแบตเตอรี่ภายในตัว โดยจะมาอายุการใชงาน ประมาณ7ปี หรือประมาณ 14,000เที่ยว 

วิธีตรวจสอบวันหมดอายุบัตร Easy pass

  สามารถดูได้จากเลข 23หลักข้างเครื่อง โดยจะต้องสังเกตดูเฉพาะตัวเลข 4 ตัวสุดท้าย ตัวเลข 2 ตัวรองสุดท้าย จะหมายถึงปี ค.ศ. ที่ผลิต ตัวเลข 2 ตัวสุดท้ายหมายถึงสัปดาห์ที่ผลิตจากนั้นให้นับไปอีก 7 ปีถัดไป

ยกตัวอย่าง เช่น XXXX XXXX XXXXXXXXXXX2302 จะหมายถึง ผลิตในปี 2023 ในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งนั่นหมายความว่า บัตร Easy Pass ของท่านจะหมดอายุในอีก 7 ปีข้างหน้า สัปดาห์ที่ 2 ของปี ค.ศ. 2030 นั่นเอง

กรณีบัตรหมดอายุแล้ว สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ที่ศูนย์ให้บริการของการทางพิเศษฯ โดยยื่นคำร้องพร้อมคืนอุปกรณ์บัตร Easy Pass (ทั้งตัวอุปกรณ์ติดหน้ารถ และบัตร Smart Card)

2.Easy Pass ไม่อ่าน

ปัญหานี้มีผู้ใช้หลายคนเจอกันบ่อย คือการทีา่ขับรถผ่านช่องทางพิเศษสำหรับใช้ Easy pass เเล้วไม้กั้นกับไม่เปิด เพราะ บัตรไม่ยอมอ่าน โดย Easy Pass จะใช้สัญญาณบลูทูธในการรับ-ส่งนั่นเอง 

   สาเหตุที่บัตร Easy Pass ไม่อ่าน

  1. ไม่ติดตั้ง Easy Pass ในตำแหน่งตามที่ กทพ. แนะนำ
  2. ฟิล์มกรองแสงไม่รองรับการอ่าน Easy Pass

ฟิล์มไม่ผ่าน Easy Pass เพราะอะไรได้บ้าง

การที่ฟิล์มกระจกรถยนต์มีส่วนผสมของโลหะผนึกในเนื้อฟิล์ม มีส่วนสำคัญที่ทำให้การรับ-ส่งสัญญาณ Bluetooth ติดขัดได้ จึงทำให้ตัวรับสัญญาณไม่อ่านจาก OBU Tag ได้

ฟิล์มกรองแสงแบบไหน เหมาะกับการติด Easy Pass

ฟิล์มแต่ละชนิดส่งผลต่อการรับ-ส่งของสัญญาณต่างๆ แตกต่างกันเนื่องจาก วัสดุเเละกรรมวิธีการผลิตฟิล์มกรองแสง โดยเฉพาะวัสดุที่ใช้สร้างชั้นป้องกันความร้อนในเนื้อฟิล์มมีคุณสมบัติต่างกันดูได้ในตารางด้านล่างได้เลยครับ

ประเภทฟิล์มวัสดุที่ผนึกในชั้นฟิล์มคุณภาพการส่งสัญญาณ(เต็ม5)
ฟิล์มย้อมดำไม่ได้ผนึกสารกันความร้อนใด ๆ บนแผ่นฟิล์ม มักเคลือบสีดำลงบนแผ่นฟิล์มเท่านั้น⭐⭐⭐⭐
ฟิล์มโลหะ (ฟิล์มปรอท)  ใช้สารโลหะประเภทต่างๆ ผนึกในเนื้อฟิล์ม เพิ่มประสิทธิภาพการกันความร้อน⭐⭐
ฟิล์มใสกันร้อนใช้สารโลหะ /เงิน /แพลททินัม หรือสารอโลหะ เช่น เซรามิค เป็นส่วนประกอบในการผนึกเนื้อฟิล์ม⭐⭐⭐
ฟิล์มเซรามิคใช้สารอโลหะอย่างเซรามิคเป็นหลัก มาผนึกในเนื้อฟิล์ม เพื่อใช้เป็นสารกันความร้อน⭐⭐⭐⭐⭐
ฟิล์มชาโคล (หรือ ฟิล์มคาร์บอน)  ใช้วัสดุคาร์บอน หรือ ชาโคล มาผนึกในเนื้อฟิล์ม⭐⭐⭐⭐⭐
ฟิล์มนิรภัยแผ่นฟิล์มที่ผนึกสารกันร้อนทั้งจากโลหะ หรือ อโลหะ  โดยเน้นให้เนื้อฟิล์มหนากว่าฟิล์มทั่วไป 2-4 เท่า⭐⭐⭐
ฟิล์มดิจิทัลผลิตด้วยเซรามิค 100% ชนิดพรีเมี่ยมพิเศษ ภายใต้เทคโนโลยีเฉพาะ Digital boost⭐⭐⭐⭐⭐

สรุป

Easy Pass เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็วสะดวกสบาย ในการขึ้นทางด่วน สามารถผ่านด่านชำระเงินได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องต่อคิวนาน  โดยระหว่างการใช้งาน ทาง Easy Pass ก็จะเกิดปัญหาอยู่บ้าง เช่น แบตเตอรี่หมด เเละ  Easy Pass  ไม่อ่าน โดยสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่ายๆ

เพียงเลือกใช้ฟิล์มที่เหมาะกับการติด  Easy Pass  ก็จะสามารถผ่านได้อย่างสบายๆ