Car tinting

ฟิล์มรถยนต์ มีปีประเภท ราคาเท่าไหร่? ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

ท่านผู้อ่านกำลังสงสัยกันอยู่ใช่ไหมละครับ ว่า “ติดฟิล์มรถยนต์ราคาต่างกัน เป็นเพราะอะไรกันแน่?” เรามาดูปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ราคาของฟิล์มแตกต่างกันได้เลยครับ

ชนิดของฟิล์มถือเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดราคาครับ โดยซึ่งเรียงลำดับจากราคาถูกไปจนถึงระดับราคาพรีเมียม ตามองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

1.ประเภทของฟิล์ม

1.1. ฟิล์มสี หรือฟิล์มย้อมดำ
เป็นฟิล์มที่มีแค่ชั้นฉาบหรือเคลือบสีเท่านั้น แม้จะมีราคาถูกที่สุด แต่เนื่องจากตัวฟิล์มไม่มีคุณสมบัติการกันร้อนแต่อย่างใด จึงไม่เหมาะกับการท้าแดดเมืองไทยเท่าไหร่ครับ

1.2. ฟิล์มเคลือบโลหะ
ใช้วัสดุโลหะในการเป็นตัวเคลือบฟิล์มเพื่อกันความร้อน ด้วยคุณสมบัติของโลหะที่มีความวาว, เงา ทำให้ฟิล์มประเภทนี้มีอีกชื่อเรียกว่า “ฟิล์มปรอท” นั่นเอง มีจุดเด่นที่สามารถกันร้อนได้ดี ในราคาที่ ไม่แพงมาก

1.3. ฟิล์มชาโคล (หรือฟิล์มคาร์บอน)
ใช้ธาตุคาร์บอนเป็นวัสดุหลักในการดูดซับรังสีความร้อนที่จะเข้าสู่ห้องโดยสาร เป็นวัสดุที่มีต้นทุนไม่แพงมาก แต่ให้คุณสมบัติกันร้อนค่อนข้างดี ผ่านสัญญาณได้ จึงมีราคาปานกลาง เหมาะกับผู้ใช้รถทั่วไป

1.4. ฟิล์มเซรามิค
เป็นฟิล์มที่ใช้เซรามิคในการเป็นตัวกันความร้อน โดยคุณสมบัติเด่นของฟิล์มชนิดนี้คือ ป้องกันรังสี UV ได้สู ถึง 99% และมีความโดดเด่นในเรื่องมืดนอก สว่างใน และผ่านทุกสัญญาณดิจิทัล

1.5. ฟิล์มใสกันร้อน
ฟิล์มประเภทนี้เป็นฟิล์มชนิดพิเศษที่มีความใสกว่าฟิล์มประเภทอื่นๆ แต่ยังคงมีคุณสมบัติกันความร้อนดีเยี่ยม มักใช้วัสดุกันร้อนระดับพรีเมียมผนึกลงในเนื้อฟิล์ม เช่น เซรามิค โลหะเงินบริสุทธิ์ เป็นต้น จึงมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับฟิล์มรุ่นทั่วไป

1.6. ฟิล์มนิรภัย
เป็นฟิล์มกรองแสงระดับพรีเมียมที่ใช้กรรมวิธีพิเศษ ผนึกชั้นฟิล์ม 2 ชั้น จนได้ความหนามากกว่าฟิล์มทั่วไป 2 เท่า (4 mil. หรือ 100 ไมครอน) จึงสามารถป้องกันการแตกกระจายของเศษกระจกจากอุบัติเหตุ หรือการทุบโจรกรรมได้อย่างดี (ทำความรู้จักเพิ่มเติมได้ที่ ฟิล์มนิรภัย)

1.7. ฟิล์มดิจิทัล
ฟิล์มยุคใหม่เพื่อรองรับชีวิตยุค Digital คุณสมบัติเด่นของเนื้อฟิล์มประเภทนี้ คือการที่ฟิล์มไม่ปิดกั้นการวิ่งผ่านของสัญญาณดิจิทัลแต่อย่างใด
ไม่ว่าจะเป็น 5G, WiFi, Radar, Lidar ฯลฯ ที่ส่งผลต่อการทำงานของรถ Smart Car ทั้ง ADAS, OTA Update ทำงานได้อยากเต็มประสิทธิภาพ เป็นฟิล์มกรองแสงระดับพรีเมียมที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการผลิตครับ

2. เทคโนโลยีในการผลิตฟิล์ม

เทคโนโลยีในการผลิตฟิล์มกรองแสง มีเยอะแยะมากมายที่พัฒนาตั้งแต่สมัยก่อน จนมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นอย่างในปัจจุบัน ส่งผลให้การติดฟิล์มรถยนต์ ราคาจึงแตกต่างกัน เป็นเพราะต้นทุนในการผลิตที่ต่างกันนั่นเอง เราขอสรุปให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ดังนี้ครับ

2.1. การฉาบสีฟิล์ม (Color Coating Film)
ผลิตด้วยการนำกาวมาผสมกับสี และนำไปฉาบบนเนื้อฟิล์ม ต้นทุนการผลิตจึงต่ำ ประสิทธิภาพเองก็ต่ำตามมา ฟิล์มชนิดนี้จึงมีราคาที่ถูกมาก ตัวอย่างฟิล์มของประเภทนี้ก็คือ ฟิล์มย้อมสี นั่นเองครับ (ที่ Lamina เราไม่มีฟิล์มชนิดนี้นะครับ)

2.2. การย้อมฝังสีฟิล์มด้วยไอร้อน (Deep Dyeing Film)
ผลิตด้วยการใช้ไอร้อนทำให้สีระเหยกลายเป็นไอแล้วลอยขึ้นไปติดที่แผ่นฟิล์ม ซึ่งวิธีนี้ต้องใช้โรงงานที่มีมาตรฐาน มีการผลิตที่ซับซ้อนกว่าฟิล์มชนิดแรก ราคาจึงมีราคาสูงขึ้น ตัวอย่างฟิล์มของประเภทนี้ จะเป็นฟิล์มย้อมสีเช่นกันครับ แต่มีคุณภาพความทนทานมากกว่าฟิล์มชนิดแรก (ที่ Lamina เราไม่มีฟิล์มชนิดนี้นะครับ)

2.3. การเคลือบสารด้วยไอร้อน (Thermal Evaporation Coating)
ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยวิธีนี้จะเป็นการนำสารกันความร้อนอย่าง โลหะ (เช่น อลูมิเนียม, ทอง, อัลลอย ฯ) หรืออโลหะที่มีจุดเดือดต่ำ มาอยู่ในห้องสุญญากาศ (Vacuum Chamber) และทำความร้อนให้เกิดการระเหิดกลายเป็นไอไปผนึกฝังในเนื้อฟิล์ม ฟิล์มชนิดนี้จึงมีความทนทานและคุณภาพที่ดีขึ้นมาจาก 2 วิธีแรกที่ได้อธิบายไป โดยตัวอย่างของฟิล์มที่ผลิตด้วยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นฟิล์มโลหะ

2.4. การเคลือบฟิล์มด้วยวิธีสปัตเตอริง (Magnetron Sputtering Coating)
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและซับซ้อนที่สุดในอุตสาหหรรมฟิล์มกรองแสงยุคนี้ โดยเป็นการใช้วิธี Sputtering หรือการยิงประจุอิเล็กตรอนภายใต้สนามแม่เหล็ก ไปกระทบอนุภาคของสารกันความร้อนที่ใช้เคลือบฟิล์ม (มักเป็นสารอโลหะ อย่าง Carbon หรือ Ceramic) ทำให้สารนั้นแตกตัวในระดับอะตอม ลอยไปตามแรงผลักของกระแสแม่เหล็กไฟฟ้า จนผนึกฝังเข้าไปในเนื้อฟิล์ม ทำให้ได้ฟิล์มกรองแสงที่มีความบริสุทธิ์สูงสุด (ฟังแล้วล้ำดีใช่ไหมล่ะ !?) ฉะนั้น ฟิล์มที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีนี้จึงมีราคาค่อนข้างสูง (แพงสุดในบรรดาเทคโนโลยีทั้งหมด แต่ได้คุณภาพที่เลิศสุด ๆ เลยครับ)

สำหรับ Carbon และ Ceramic เป็นอโลหะที่มีจุดเดือดสูงกว่าจุดเดือดของโลหะถึง 4-5 เท่า โดยจุดเดือดของ Carbon และ Ceramic สูงถึงกว่า 2,000°C (อ้างอิงข้อมูลจาก Wikipedia : Ultra-high-temperature ceramics ที่กล่าวถึงข้อมูลของ Ceramic) ส่วนจุดเดือดของโลหะ อยู่ที่ประมาณ 250°C (อ้างอิงข้อมูลจาก textbooks.elsevier.com ที่ได้กล่าวถึงเรื่องจุดเดือนของ Ceramic และโลหะทั่วไป)

ขอบคุณข้อมูล https://www.laminafilms.com/th/article/car-window-tint-price