สัญลักษณ์บนถนนที่พบบ่อย หมายความว่าอย่างไร

คุณน่าจะคุ้นเคยกับสัญลักษณะพวกนี้บนท้องถนน จริง ๆ แล้วสัญลักษณะนั้นมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่ มาลองหาคำตอบกัน

ป้ายจราจร

1.ป้ายหยุด หมายถึงรถทุกชนิดต้องหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้ว จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง

2.ป้ายให้ทาง หมายถึงรถทุกชนิดต้องระมัดระวังและให้ทางแก่รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไป ก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัย และ ไม่เป็นการกีดขวางการจราจรที่บริเวณทางแยกนั้นแล้ว  จึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง

3.ป้ายห้ามแซง หมายถึง ห้ามมิให้ขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นในเขตทางห้ามแซงตามที่ติดตั้งป้ายไว้ ณ จุดนั้นๆ

4.ป้ายห้ามเข้า หมายถึง ห้ามรถทุกชนิด เข้าไปในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายห้ามเข้า

5.ป้ายห้ามกลับรถไปทางซ้าย หมายถึงห้ามรถทุกชนิดกลับรถไปทางซ้าย ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดๆในเขตที่มีป้ายนี้ติดตั้งอยู่

6.ป้ายห้ามกลับรถไปทางซ้าย หมายถึงห้ามรถทุกชนิดกลับรถไปทางซ้าย ไม่ว่าจะกระทำด้วยวิธีใดๆในเขตที่มีป้ายนี้ติดตั้งอยู่

7.ป้ายห้ามเลี้ยวซ้าย หมายถึงห้ามมิให้รถทุกชนิดเลี้ยวรถไปทางซ้าย

8.ป้ายห้ามเลี้ยวขวา หมายถึงห้ามมิให้รถทุกชนิดเลี้ยวรถไปทางขวา

9.ป้ายห้ามรถยนต์ หมายถึงป้ายที่ห้ามให้รถยนต์เข้าในพื้นที่ที่ติดตั้งป้ายจราจร

10.ป้ายห้ามจอดรถ หมายถึงห้ามมิให้จอดรถทุกชนิดระหว่างแนวนั้น เว้นแต่การรับ – ส่งคน หรือสิ่งของชั่วขณะซึ่งต้องกระทำโดยมิชักช้า

11.ป้ายห้ามคน หรือ ป้ายห้ามคนเข้า หมายถึง การห้ามคนผ่านเข้าไปในเขตทางที่ติดตั้งป้ายไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆก็ตาม

12.ป้ายจำกัดความเร็ว หมายถึงห้ามมิให้ผู้ขับรถทุกชนิดใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามจำนวนตัวเลขในแผ่นป้ายนั้นๆ ในเขตทางที่ติดตั้งป้าย จนกว่าจะพ้นที่สุดระยะที่จำกัดความเร็วนั้น อาทิเช่น 80 90 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

13.ป้ายให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า หมายถึงให้รถทุกชนิดขับรถตรงไปตามทิศทางที่ป้ายกำหนด หรือเดินรถทางเดียว

14.ป้ายทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย หมายถึงให้รถทุกชนิดขับรถไปทางซ้ายแต่ทางเดียว

15.ป้ายทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา หมายถึงให้รถทุกชนิดขับรถไปทางขวาแต่ทางเดียว

16.ป้ายให้ชิดซ้าย หมายถึงให้รถทุกชนิดขับรถผ่านไปทางซ้ายของป้าย

17.ป้ายให้ชิดขวา หมายถึงให้รถทุกชนิดขับรถผ่านไปทางขวาของป้าย

18.ป้ายให้เลี้ยวซ้าย ป้ายให้เลี้ยวซ้าย หมายถึง ป้ายจราจร ที่บังคับให้รถทุกชนิดขับรถเลี้ยวไปทางซ้ายแต่ทางเดียว

19.ป้ายให้เลี้ยวขวา หมายถึงป้ายบังคับ ให้รถทุกชนิดขับรถเลี้ยวไปทางขวาแต่ทางเดียว

20.ป้ายทางโค้งซ้าย หมายถึงทางข้างหน้าโค้งไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

21.ป้ายทางโค้งขวา หมายถึงทางข้างหน้าโค้งไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านขวาด้วยความระมัดระวัง

22.ป้ายทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย หมายถึงทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางซ้าย ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านซ้ายด้วยความระมัดระวัง

23.ป้ายทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา หมายถึงทางข้างหน้าโค้งรัศมีแคบไปทางขวา ให้ขับรถให้ช้าลงพอสมควรและเดินรถชิดด้านขวาด้วยความระมัดระวัง

24.ป้ายทางโทตัดทางเอก หมายถึงทางข้างหน้ามีทางโทตัด ให้ขับรถด้วยความระมัดระวัง และให้ทางเอกไปก่อน

25.ป้ายทางโทแยกทางเอกทางซ้าย หมายถึงทางข้างหน้ามีทางแยกไปทางซ้ายให้ผู้ขับขี่ขับรถด้วยความระมัดระวัง

26.ป้ายทางโทแยกทางเอกทางขวา หมายถึงทางข้างหน้ามีทางแยกไปทางขวาให้ผู้ขับขี่ขับรถด้วยความระมัดระวัง

27.ป้ายจุดกลับรถ หมายถึงทางข้างหน้าจะมีที่กลับรถ ให้ผู้ขับขี่ขับรถอย่างระมัดระวัง

28.ป้ายสัญญาณจราจร หมายถึงทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจร ให้ผู้ขับขี่ขับรถช้าลงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร

29.ป้ายระวังคนข้ามถนน หมายถึงทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ข้างทาง ให้ผู้ขับขี่ขับรถให้ช้าลงและระมัดระวังอุบัติเหตุซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแก่เด็กนักเรียน ถ้ามีเด็กนักเรียนกำลังเดินข้ามถนนให้หยุดรถให้เด็กนักเรียนข้ามถนนไปได้โดย ปลอดภัย ถ้าเป็นเวลาที่โรงเรียนกำลังสอน ให้งดใช้เสียงสัญญาณและห้ามทำให้เกิดเสียงรบกวนด้วยประการใด ๆ

30.ป้ายระวังสัตว์ หมายถึงทางข้างหน้าอาจมีสัตว์ข้ามทางให้ผู้ขับขี่ขับรถให้ช้าลง และระมัดระวังอันตรายเป็นพิเศษ

 

ป้ายจราจร ประเภทเครื่องหมายบนพื้นทาง

1.เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ เป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 ซม. ให้ผู้ขับขี่ขับรถในด้านซ้าย เลี้ยวขวาหรือแซงหน้ารถคันอื่นได้เมื่อปลอดภัย

2.เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน ลักษณะจะเป็นเส้นประสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 ซม. ให้ทราบว่าจะถึงเขตทางข้าม แยก เขตห้ามแซง เว้นแต่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ หรือกลับรถ ขับข้ามเส้นได้แต่ต้องระวังเป็นพิเศษ (สังเกตดูจะเห็นว่าเส้นจะยาวกว่า เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ)

3. เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง ลักษณะจะเป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ห้ามแซงหรือขับรถผ่านคร่อมเส้นโดยเด็ดขาด

4.เส้นแบ่งทิศทางจราจร ห้ามแซงคู่ ลักษณะจะเป็นเส้นทึบคู่ เป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานกันมีระยะห่างระหว่างเส้น 15 เซนติเมตร ห้ามรถทุกชนิดผ่าน ขับรถคร่อมเส้น ห้ามแซงโดยเด็ดขาดทั้งสองทิศทาง

5.เส้นแบ่งเดินรถประจำทาง ลักษณะจะเป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร รถประจำทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารที่อธิบดีกรมตำรวจกำหนด ให้ใช้ช่องทางเดินรถด้านซ้ายของเส้นนี้ รถประเภทอื่นห้ามขับผ่านเข้าไปในช่องนี้ ฝ่าฝืนมีโทษจับปรับตามกฎหมายกำเนิด

6.เส้นแบ่งภายในช่องเดินรถประจำทาง ให้รถประจำทางหรือรถที่กำหนดวิ่งในช่องทางได้ทั้ง 2 ช่อง ทั้งซ้ายและขวาของเส้นนี้

7.เส้นทแยงสำหรับทางแยก ลักษณะจะเป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ลากทแยงตัดกันทำมุม 45 องศา ห่างกัน 200 เซนติเมตร ภายในกรองเส้นทึบสีเหลือง ขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร เป็นเส้นทึบสีเหลืองลากทแยงมุม ห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทแยงนี้ ส่วนใหญ่จะพบเห็นตามหน้าซอยต่างๆ

CR : เส้นจราจรควรรู้..รู้แล้วต้องปฎิบัติตาม ถ้าไม่อยากเสี่ยงตาย! , ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร ที่ผู้ใช้รถควรรู้ไว้, ป้ายจราจร สัญลักษณ์จราจร เครื่องหมายจราจร ที่ใช้สอบใบขับขี่ มีอะไรบ้าง